กัญชาทางการแพทย์

กัญชาทางการแพทย์

กัญชาทางการแพทย์ถือเป็นยาประเภทใหม่เนื่องจากกัญชาไม่ใช่ยาครอบจักรวาลหรือยารักษาโรคปัจจุบันทั่วโลกไม่ได้เลือกให้ใช้กัญชาเป็นการรักษาลำดับแรกในทางกลับกันผู้ป่วยที่มีสิทธิ์ได้รับกัญชาคือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อยาอื่น ๆ หรือได้รับผลข้างเคียงจากยาที่ไม่สามารถยอมรับได้ในขณะที่มีผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ดียังจำเป็นต้องเป็นไปตามคุณภาพมาตรฐานด้วยเหตุนี้ผู้ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ยาของรัฐจึงมักจัดการกับความต้องการกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยและแพทย์ตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ดังนั้นแม้ว่าข้อมูลทางคลินิกและแนวทางการจ่ายยาจะมีความจำเป็น แต่ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายและการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐก็สำคัญไม่แพ้กัน

สารแคนาบินอยด์ออกฤทธิ์ในร่างกายได้อย่างไร

การกำหนดว่ายาจะทำงานอย่างไรในร่ายกายผู้ป่วยแต่ละรายเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยและประสิทธิผลของยาการที่สารแคนนาบินอยด์ THC และ CBD กระจายในร่างกาย (เภสัชจลนศาสตร์) แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับวิธีการได้รับยาระยะเวลาออกฤทธิ์จะขึ้นกับขนาดยารูปแบบยาเตรียมและวิธีการให้ยาทั้งทางปอดปากลำไส้หรือผิวหนัง

การดูดซึมและการกระจายตัว

THC และ CBD ส่วนใหญ่ที่พบในกัญชามักอยู่ในรูปกรดที่ไม่ออกฤทธิ์จึงต้องมีการให้ความร้อนเพื่อเอากลุ่มคาร์บอกซิลออกเพื่อให้ THC และ CBD ออกฤทธิ์ได้ในทางปฏิบัติกระบวนการนี้เรียกว่า“ ดีคาร์บอกซิเลชั่น” โดยจะให้ความร้อนช่อดอกกัญชาในเครื่องพ่นไอระเหยหรือให้ความร้อนกับสารสกัดจากช่อดอกกัญชาก่อนจะนำไปใส่ในสารละลาย

การดูดซึมสารแคนนาบินอยด์ที่สูดไอระเหยเข้าไปจะส่งผลให้ระดับความเข้มข้นในเลือดเพิ่มขึ้นมากที่สุด (จุดสูงสุด) ภายในไม่กี่นาที (ดูที่รูปภาพ) ฤทธิ์ต่อสมองจะเริ่มแสดงผลภายในไม่กี่วินาทีจนถึงไม่กี่นาทีและจะออกฤทธิ์สูงสุดหลังจากผ่านไป 15-30 นาทีโดยฤทธิ์จะหมดภายใน 2-3 ชั่วโมง

การกลืนสารแคนนาบินอยด์จะทำให้การดูดซึมช้าลงความเข้มข้นสูงสุดในเลือดจะมีปริมาณน้อยกว่าและเกิดขึ้นช้าลงเมื่อรับสารผ่านการกลืนฤทธิ์ต่อสมองจะแสดงผลช้าลง 30-90 นาทีและจะออกฤทธิ์สูงสุดหลังจากผ่านไป 2-3 ชั่วโมงฤทธิ์จะมีผลอยู่ราว 4-12 ชั่วโมง

ชีวปริมาณออกฤทธิ์เป็นการระบุสัดส่วนยาที่เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดหลังจากให้ยาชีวปริมาณออกฤทธิ์ของ THC และ CBD เมื่อให้ยาทางปากมีค่าต่ำการสูดไอระเหยสารแคนนาบินอยด์จึงมีประสิทธิภาพดีกว่าและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเมื่อเทียบกับการให้สารผ่านทางปาก

THC และ CBD เป็นสารประกอบที่ละลายได้ในไขมัน (เกาะกับไขมันได้ดี) ซึ่งจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วผ่านปอดซึ่งส่งผลให้การสูดไอระเหยทำได้สะดวกและเป็นวิธีการบริหารยาที่ออกฤทธิ์เร็วทำให้การไทเทรตปรับปริมาณยาที่ต้องการง่ายขึ้นและได้รับผลทางชีวภาพที่ต้องการ THC ที่สูดดมเข้าไปประมาณ 25% จะเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด

การกระจายตัวของสารแคนนาบินอยด์ในร่างกายถูกกำหนดจากการจับตัวกับไขมัน (การละลายในไขมันของสาร) และการจับกับโปรตีนในเลือด THC จะกระจายตัวไปทั่วทั้งร่างกายโดยเฉพาะในเนื้อเยื่อไขมันการสะสม THC ในร่างกายจะเพิ่มขึ้นตามความถี่ในการใช้สารและระยะเวลาในการใช้สารที่เพิ่มขึ้น

กระบวนการเมแทบอลิซึมและการกำจัดออก

สารแคนาบินอยด์ส่วนใหญ่จะผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมโดยใช้กลุ่มเอนไซม์ในตับที่เรียกว่าไซโตโครมพี 450 (CYP450) เช่นเดียวกับยาอื่น ๆ อีกมากมาย เอนไซม์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงสารแคนาบินอยด์ทางเคมีเพื่อนำสารออกจากร่างกาย (การขับออก) นอกเหนือจากตับแล้วเนื้อเยื่ออื่น ๆ เช่น หัวใจและปอดก็สามารถนำสารแคนาบินอยด์ผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมได้แม้ว่าจะทำได้ในระดับที่น้อยกว่ากระบวนการเมแทบอลิซึมของ THC และ CBD มีแนวทางที่คล้ายคลึงกัน

การกำจัดยาออกเป็นการนำยาออกจากร่างกายของเราโดยสมบูรณ์ กระบวนการเมแทบอลิซึมเป็นวิธีหลักในการนำ THC ออกจากร่างกาย ในขณะที่ CBD จะถูกขับออกโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในระยะเวลา 5 วันหลังจากรับยาไปครั้งหนึ่ง THC จะถูกขับออกไปประมาณ 80-90% การขับออกของ THC และเมทาบอไลท์ของมันเกิดขึ้นผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะหลังจากสูดไอระเหยเข้าไปแล้วปริมาณสารที่ดูดซึมราว 25% จะถูกขับออกผ่านปัสสาวะและ 65% ถูกขับออกผ่านทางอุจจาระ THC ปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกขับออกโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมียาที่ได้รับทางปากปริมาณน้อยกว่า 5% ถูกพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในอุจจาระเมทาบอไลท์ของ THC พบได้ในปัสสาวะและอุจจาระเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์

การกำจัดสารแคนนาบินอยด์และเมทาบอไลท์เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากสารพวกนี้เคลื่อนที่ออกจากไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกายกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดอย่างช้า ๆ

กระบวนการเมแทบอลิซึมในตับและ THC

เมทาบอไลท์เป็นสารที่สร้างขึ้นระหว่างกระบวนการเมแทบอลิซึม ซึ่งเป็นผลผลิตที่แยกออกมาหลังจากกลืนยาเข้าไป ยาจะถูกดูดซึมในลำไส้เล็กและถูกพาไปยังตับ ก่อนจะผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมซึ่งเรียกว่ากระบวนการเมแทบอลิซึมในตับ กระบวนการเมแทบอลิซึมในตับจะลดความเข้มข้นของยาลงไปอย่างมาก ซึ่งทำให้ปริมาณยาดั้งเดิมเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ในบางกรณีเมทาบอไลท์อาจออกฤทธิ์แรงและยาวนาน สำหรับ THC นั้นเมทาบอไลท์ 11-hydroxy THC (11-OH-THC) ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทมากกว่า THC เป็นสองเท่าการบริหารยา THC โดยการสูดไอระเหยจะเป็นการหลีกเลี่ยงกระบวนการเมแทบอลิซึมในตับและการเปลี่ยนเป็น 11-OH-THC อย่างรวดเร็ว

ภาวะโรคที่มีแนวโน้มจะใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้

มีการวิจัยทางคลินิกที่สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์ในบางสภาวะซึ่งรวมถึง: อาการปวดเรื้อรังอาการปวดบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทซึ่งเกิดจากเส้นประสาทเสียหายภาวะปวดหลอนและการปวดเส้นประสาทใบหน้าอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดและการอาเจียนที่เชื่อมโยงกับเคมีบำบัดและรังสีบำบัดซึ่งใช้รักษามะเร็งรวมถึงโรคเบื่ออาหารและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเอชไอวี / เอดส์ อาการปวดและกล้ามเนื้อชักกระตุกหรือตะคริวที่เชื่อมโยงกับโรคปลอกประสาทเสื่อมหรือความเสียหายที่ไขสันหลัง

ขนาดยารูปแบบยาเตรียมและการไทเทรตปรับขนาดยา

กัญชาทางการแพทย์ก็เหมือนกับยาชนิดอื่น ๆ ที่มีรูปแบบยาเตรียมหลากหลายประเภทเช่น

  • การสูดไอระเหย เช่น เครื่องพ่นไอระเหยทางการแพทย์, การสูบ
  • การให้ยาทางปาก เช่น น้ำมัน,สเปรย์,แคปซูล, ชาหรือสารละลาย, อาหาร
  • การส่งยาผ่านผิวหนัง

เพื่อสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป โดยปกติแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับขนาดยาเพื่อให้ได้รับผลตามที่ต้องการ เพื่อหาปริมาณยาต่อวันที่เหมาะสมที่สุดซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลในการรักษาโรคที่ดีและลดอาการไม่พึงประสงค์ให้เหลือน้อยที่สุด

ข้อห้ามใช้และอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ไม่ควรใช้สารกลุ่มนี้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้อยู่ระหว่างให้นมบุตร และผู้ป่วยจิตเวช ส่วนการใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและโรคความดันควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ควรให้สารกลุ่มนี้ร่วมกับยากลุ่ม CNS depressants อาการข้างเคียงของการใช้สารกลุ่ม THC ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้และขนาดยาที่ใช้โดยควรเริ่มจากขนาดต่ำก่อน และถ้าจำเป็นต้องเพิ่มขนาดควรทำช้าๆ ผู้ที่ได้รับสารกลุ่มนี้มักสามารถพัฒนาให้ร่างกายยอมรับผล psychoactive effect ของยา (tolerance) ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงควรรักษาขนาดของยาให้คงที่โดยพิจารณาตามผลการรักษาที่ได้รับเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยทนต่อฤทธิ์ของกัญชาทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี อาการข้างเคียง ตามปกติจะคงอยู่เพียงชั่วครูอีกทั้งมักจะไม่เป็นอันตรายและหายไปเมื่อทนต่อยาได้มากขึ้น อาการข้างเคียงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับกัญชาทางการแพทย์ในปริมาณมากหรือในกรณีที่ใช้ร่วมกับสารอื่น ๆ โดยมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการใช้สัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการข้างเคียง ได้แก่

  • ปากแห้ง
  • ตาแดง
  • ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น (ซึ่งอาจเป็นอาการข้างเคียงที่พึงประสงค์)
  • ภาวะเคลิ้มสุขอย่างอ่อน ๆ
  • ความตื่นตัวของผู้ใช้ลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงทันทีหลังได้รับยา
  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • ความดันโลหิตลดต่ำลงและมีอาการเวียนศีรษะ

ปกติแล้วอาการข้างเคียงทั้งหมดจะค่อย ๆ ลดน้อยลงและหายไปภายในไม่กี่ชั่วโมงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับและวิธีการให้ยา

บรรณานุกรม

ดร. ภญ. ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์. (2562). กัญชากับการรักษาโรค. แหล่งข้อมูล: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/กัญชา. ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563.

Martin Woodbridge. (2562). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์. แหล่งข้อมูล:https://mdresearch.kku.ac.th/files/cannabis/MedicainalCannabisBook_v4.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563.

TOP